วันนี้คุณยื่นภาษีแล้วหรือยัง ?? ภ.ง.ด. 90 , 91( ภายใน มกราคม-มีนาคม 2553 )
อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เมื่อได้ยอดเงินได้สุทธิแล้ว นำไปคำนวณภาษีตามอัตราภาษี ดังนี้
เงินได้สุทธิ | ช่วงเงินได้สุทธิ แต่ละขั้น | อัตราภาษี ร้อยละ | ภาษีแต่ละขั้น เงินได้สุทธิ | ภาษีสะสม สูงสุดของขั้น |
1 - 150,000 | 150,000 | ได้รับยกเว้น | - | - |
150,001 - 500,000 | 350,000 | 10 | 35,000 | 35,000 |
500,001 - 1,000,000 | 500,000 | 20 | 100,000 | 135,000 |
1,000,001 - 4,000,000 | 3,000,000 | 30 | 900,000 | 1,035,000 |
4,000,001 บาทขึ้นไป |
| 37 |
|
|
หมายเหตุ :- การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เงินได้สุทธิเฉพาะส่วนไม่เกิน 150,000 บาท มีผลใช้บังคับสำหรับเงินได้สุทธิที่เกิดขึ้นในปีพ.ศ. 2551 เป็นต้นไป ( พระราชกฤษฎีกา ( ฉบับที่ 470 ) พ.ศ. 2551 )
ในการเสียภาษีจะต้องคำนวณภาษีอย่างไร? |
เนื่องจากผู้มีเงินได้ประกอบอาชีพแตกต่างกัน มีความยากง่ายหรือต้นทุนที่แตกต่างกัน เพื่อความ เป็นธรรม ในกฎหมายจึงได้แบ่งลักษณะเงินได้(พึงประเมิน) ออกเป็นกลุ่มๆ ตามความเหมาะสมเพื่อกำหนด วิธีคำนวณภาษีให้เกิดความเป็นธรรมมากที่สุด ดังนี้ 1. เงินได้ประเภทที่ 1 ได้แก่ เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน ไม่ว่าจะเป็น - เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ - เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับจากนายจ้าง - เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้าน ซึ่งนายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า - เงินที่นายจ้างจ่ายชำระหนี้ใด ๆ ซึ่งลูกจ้างมีหน้าที่ต้องชำระ - เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน เช่น มูลค่าของการได้รับประทานอาหาร เป็นต้น 2. เงินได้ประเภทที่ 2 ได้แก่ เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ ไม่ว่าจะเป็น - ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด - เงินอุดหนุนในงานที่ทำ เบี้ยประชุม บำเหน็จ โบนัส - เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับเนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ - เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้าน ที่ผู้จ่ายเงินได้ให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า - เงินที่ผู้จ่ายเงินได้จ่ายชำระหนี้ใด ๆ ซึ่งผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องชำระ - เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือ จากการรับทำงานให้นั้น ไม่ว่าหน้าที่หรือตำแหน่งงาน หรืองานที่รับทำให้นั้นจะเป็นการประจำหรือชั่วคราว
5. เงินได้ประเภทที่ 5 เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน เงินหรือประโยชน์อย่างอื่น ที่ได้เนื่องจาก - การให้เช่าทรัพย์สิน - การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน - การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อนซึ่งผู้ขายได้รับคืนทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้นโดยไม่ต้องคืนเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้ว 6. เงินได้ประเภทที่ 6 ได้แก่ เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือวิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลป วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม หรือวิชาชีพอื่นซึ่งจะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดชนิดไว้ 7. เงินได้ประเภทที่ 7 ได้แก่ เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระ ในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ ***8. เงินได้ประเภทที่ 8 ได้แก่ เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์ หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในประเภทที่ 1 ถึงประเภทที่ 7 แล้ว |
เงินได้พึงประเมินแต่ละกรณีจะคำนวณหักค่าใช้จ่ายได้เท่าใด?
|
1. เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 และ 2 ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากฎหมายให้หัก ค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา ได้ตามเงื่อนไขที่กำหนด ดังนี้ (1) ผู้มีเงินได้สามารถหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 40 ของเงินได้แต่รวมกันแล้วต้อง ไม่เกิน 60,000 บาท (2) ในกรณีสามีภริยา ต่างฝ่ายต่างมีเงินได้และความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ต่างฝ่ายต่างหักค่าใช้จ่ายได้ร้อยละ 40 แต่ไม่เกินฝ่ายละ 60,000 บาท 2. เงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน ตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดในประกาศอธิบดีฯ (ฉบับที่ 45) ให้คำนวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48(5) แห่งประมวลรัษฎากร เป็น เงินภาษีทั้งสิ้นเท่าใด ให้หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้เท่านั้น การคำนวณตามเกณฑ์ในมาตรา 48(5) แห่งประมวลรัษฎากร มีหลักเกณฑ์ดังนี้ 3. เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 3 ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากฎหมายยอมให้หักค่า ใช้จ่ายได้เฉพาะเงินได้ที่เป็นค่าแห่งลิขสิทธิ์ โดยให้หักเป็นการเหมาได้ร้อยละ 40 ของค่าแห่งลิขสิทธิ์แต่ไม่เกิน 60,000 บาท สำหรับค่าแห่งกู๊ดวิลล์ หรือสิทธิอย่างอื่น เงินปี หรือเงินได้ที่มีลักษณะเป็นเงินรายปีอันได้มาจาก พินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล ไม่ยอมให้หักค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น ในกรณีสามีและภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ประเภทนี้ และความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ต่างฝ่ายต่างหักค่าใช้จ่ายได้ตามเกณฑ์เดียวกัน 4. เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 4 ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กฎหมายไม่ยอมให้หัก ค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น 5. เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 5 ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กฎหมายให้หักค่าใช้จ่ายได้ ดังนี้ คือ (1) การให้เช่าทรัพย์สิน ผู้มีเงินได้มีสิทธิเลือกหักค่าใช้จ่ายวิธีใดวิธีหนึ่งดังนี้ ก. หักตามความจำเป็นและสมควรหรือ ข. หักเป็นการเหมาในอัตราที่กำหนด กรณีผู้ให้เช่าทรัพย์สิน เรียกเก็บเงินกินเปล่า เงินแป๊ะเจี๊ยะ เงินค่าปลูกสร้าง หรือเงินค่าซ่อมแซม อีกส่วนหนึ่งนอกเหนือจากค่าเช่า หรือได้รับประโยชน์อื่น เช่น ได้กรรมสิทธิ์ในอาคารหรือโรงเรือนที่ผู้เช่าทำการก่อสร้างลงบนที่ดินของผู้ให้เช่าแล้วยกให้ เงินหรือกรรมสิทธิ์ในอาคารหรือโรงเรือนเป็นเงินได้พึงประเมินเนื่องจากการให้เช่าทรัพย์สินของผู้ให้เช่า กรณีที่เจ้าของที่ดินทำสัญญาให้ผู้อื่นทำการปลูกสร้างอาคารหรือโรงเรือนที่ดินของตน โดย ผู้ปลูกสร้างยกกรรมสิทธิ์ในอาคารหรือโรงเรือนที่ปลูกสร้างนั้นให้แก่เจ้าของที่ดินเมื่อสร้างเสร็จ และเจ้าของที่ดินตกลงให้ผู้ปลูกสร้างเช่าหรือให้เช่าช่วงอาคารหรือโรงเรือน หรือตกลงให้ผู้สร้างจัดหาผู้เช่าอาคารหรือโรงเรือนนั้นโดยตรงจากเจ้าของที่ดินเป็นการตอบแทนภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้คำนวณค่าแห่งอาคารหรือโรงเรือนนั้น เป็นเงินได้พึงประเมินของเจ้าของที่ดินตาม จำนวนปีแห่งอายุการเช่าใน อัตราร้อยละของมูลค่าอาคาร หรือ โรงเรือนในวันที่ได้รับกรรมสิทธิ์ (2) การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน กฎหมายยอมให้ผู้มีเงินได้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา ได้ร้อยละ 20 วิธีเดียว (3) การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อน ซึ่งผู้ขายได้รับคืนทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้นโดยไม่ต้องคืนเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้ว กฎหมายยอมให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 20 วิธีเดียว 6. เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 6 ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กฎหมายยอมให้เลือกหัก ค่าใช้จ่ายวิธีใดวิธีหนึ่งดังนี้ - ให้หักตามความจำเป็นและสมควรหรือ - ให้หักเป็นการเหมาดังต่อไปนี้ - เงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ การประกอบโรคศิลป ให้หักค่าใช้จ่ายร้อยละ 60 - เงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระนอกจาก 1) หักค่าใช้จ่ายได้ร้อยละ 30 7. เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 7 ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กฎหมายยอมให้หักค่า ใช้จ่ายวิธีใดวิธีหนึ่ง ดังนี้ - หักตามความจำเป็นและสมควร หรือ - หักเป็นการเหมาในอัตราร้อยละ 70 ***8. เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8 ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กฎหมายยอมให้เลือกหัก ค่าใช้จ่ายวิธีใดวิธีหนึ่ง ดังนี้ - หักตามความจำเป็นและสมควร หรือ - หักเป็นการเหมาในอัตราร้อยละตามที่กฎหมายกำหนด |
ผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอย่างไร และเมื่อใด? | |||||||||||||||
แบบแสดงรายการที่ใช้มีดังต่อไปนี้
2. "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปี" เป็นการยื่นแบบแสดงรายการเงินได้พึงประเมินที่ได้รับแล้ว ในระหว่างปีภาษี โดยยื่นภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป |
1. ค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ
ผู้มีเงินได้สามารถหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพได้ คนละ 60,000 บาท และต้องมีหลักฐานดังนี้
กรณีหักลดหย่อนคนพิการ(1) หนังสือรับรองการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ (แบบ ล.ย.๐๔)
(2) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการของบุคคลที่ผู้มีเงินได้จะใช้สิทธิหักลดหย่อน พร้อมทั้งภาพถ่ายบัตรประจำตัวคนพิการดังกล่าวในส่วนที่แสดงว่า ผู้มีเงินได้เป็นผู้ดูแลคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
กรณีหักลดหย่อนคนทุพพลภาพ(1) ใบรับรองแพทย์ จากแพทย์ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่ได้ตรวจและแสดงความเห็นว่า บุคคลที่ผู้มีเงินได้จะใช้สิทธิหักลดหย่อนมีภาวะจำกัดหรือขาดความสามารถในการประกอบกิจวัตรหลักอันเป็นปกติเยี่ยงบุคคลทั่วไป อันเนื่องมาจากสาเหตุทางปัญหาสุขภาพหรือความเจ็บป่วยที่เป็นต่อเนื่องมาไม่น้อยกว่า 180 วัน หรือทุพพลภาพมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 วัน และใบรับรองแพทย์ดังกล่าวต้องออกในปีภาษีที่ขอใช้สิทธิหักลดหย่อน
(2) หนังสือรับรองการเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูคนทุพพลภาพ (แบบ ล.ย.0๔-๑) ที่รับรองว่า ผู้มีเงินได้เป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูบุคคลที่ผู้มีเงินได้จะใช้สิทธิหักลดหย่อน โดยผู้รับรองต้องเป็นสามีภริยาหรือบุตรชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรมหรือหลาน หรือบิดามารดา หรือพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน หรือพี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน หรือปู่ย่าตายาย หรือลุงป้าน้าอา ของบุคคลดังกล่าว หรือกำนันผู้ใหญ่บ้าน หรือบุคคลที่เป็นสมาชิกขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในท้องที่ที่บุคคลดังกล่าวอยู่อาศัย โดยหนังสือรับรองดังกล่าว ผู้รับรองต้องรับรองในปีภาษีที่ขอใช้สิทธิหักลดหย่อน ตามมาตรา 47(1) (ฎ) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 182)
2. ค่าเบี้ยประกันชีวิต
ผู้มีเงินได้สามารถหักลดหย่อนและยกเว้นภาษีค่าเบี้ยประกันชีวิตได้ ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท ตามมาตรา 47(1)(ง) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2(61) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 172)
สำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตที่ทำตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552 เป็นต้นไป ผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานจากผู้รับประกันภัยที่พิสูจน์ได้ว่า มีการจ่ายเบี้ยประกันชีวิต และผู้รับประกันภัยต้องระบุเพิ่มเติม หากมีกรณีดังต่อไปนี้
(1) กรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีความคุ้มครองอื่นเพิ่มเติม ต้องระบุจำนวนเบี้ยประกันชีวิต และเบี้ยประกันภัยที่จ่ายสำหรับความคุ้มครองอื่นเพิ่มเติมแยกออกจากกัน และผู้มีเงินได้ไม่สามารถนำค่าเบี้ยประกันภัยที่จ่ายสำหรับความคุ้มครองอื่นเพิ่มเติมมาหักลดหย่อนได้
(2) กรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีการรับเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนคืนในระหว่างอายุกรมธรรม์
3. ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
ผู้มีเงินได้ได้รับยกเว้นค่าซื้อหน่วยลงทุนดังกล่าวได้ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับในปีภาษีนั้น แต่ไม่เกิน 500,000 บาท (โดยรวมกับเงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการหรือกองทุนสงเคราะห์โรงเรียนเอกชนแล้ว) ตามข้อ 2(55) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 171) และต้องมีหลักฐานจากกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่แสดงได้ว่า มีการจ่ายเงินเข้ากองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ตามประกาศกรมสรรพากร เรื่อง หลักฐานการจ่ายเงินเข้ากองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2552
4. ค่าซื้อหน่วยลงทุนใน/กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
ผู้มีเงินได้ได้รับยกเว้นค่าซื้อหน่วยลงทุนดังกล่าวได้ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับในปีภาษีนั้น แต่ไม่เกิน 500,000 บาท ตามข้อ 2(66) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 169) และต้องมีหนังสือรับรองการซื้อหน่วยลงทุนดังกล่าวจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมที่แสดงได้ว่า มีการจ่ายเงินเข้ากองทุนรวมหุ้นระยะยาว ตามประกาศกรมสรรพากร เรื่อง หนังสือรับรองการซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวเพื่อการยกเว้นเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หุ้นระยะยาว ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2552
5. ค่าซื้ออาคาร อาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย
ผู้มีเงินได้ได้รับยกเว้นค่าซื้ออาคารดังกล่าว ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 300,000 บาท สำหรับค่าซื้ออาคารดังกล่าว ที่มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ในระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และต้องมีหนังสือรับรองจากผู้ขายที่พิสูจน์ได้ว่า มีการจ่ายเป็นค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 271 (พ.ศ. 2552) ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 178)
6. เงินสมทบกองทุนประกันสังคม
ผู้มีเงินได้สามารถหักลดหย่อนได้ ตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 7,200 บาท ตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม ตามมาตรา 47(1)(ฌ) แห่งประมวลรัษฎากร
7. การคำนวณภาษีที่ต้องเสีย
กรณีผู้มีเงินได้มีเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40(2) – (8) แห่งประมวลรัษฎากร ตั้งแต่ 60,000 บาท ขึ้นไป คูณด้วยอัตราร้อยละ 0.5 หากมีเงินภาษีที่ต้องเสียทั้งสิ้นจำนวนไม่เกิน 5,000 บาท ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามมาตรา 48(2) แห่งประมวลรัษฎากร ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 480) พ.ศ.2552
ตัวอย่าง การคำนวณภาษีที่ต้องเสีย ตามคำชี้แจงกรมสรรพากร เรื่อง การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามมาตรา 48(2) แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552 เป็นต้นไป ตามพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 480) มีดังนี้
ตัวอย่างที่ 1 ในปีภาษี 2552 นาย ก. เป็นผู้มีเงินได้จากการขายของ ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา40(8) แห่งประมวลรัษฎากร จำนวนทั้งสิ้น 800,000 บาท
การคำนวณภาษีที่ต้องเสีย
วิธีที่ 1 เงินได้พึงประเมินหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่างๆ คูณด้วยอัตราภาษีเงินได้ หรือเรียกว่า อัตราก้าวหน้า ตามมาตรา 48(1) แห่งประมวลรัษฎากร
เงินได้พึงประเมิน 800,000 บาท
หัก ค่าใช้จ่ายเหมาในอัตราร้อยละ 80 640,000 บาท
หัก ลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้ 30,000 บาท
คงเหลือเงินได้สุทธิ 130,000 บาท
หัก เงินได้สุทธิ 150,000 บาทแรก (ได้รับยกเว้นภาษี) 150,000 บาท
คงเหลือเงินได้สุทธิที่ต้องคำนวณภาษี - บาท
มีภาษีต้องเสียจำนวน (ในอัตราร้อยละ 10) - บาท
วิธีที่ 2 เงินได้พึงประเมินคูณด้วยอัตราร้อยละ 0.5 หรือเรียกว่า พันละห้า ตามมาตรา 48(2) แห่งประมวลรัษฎากร
เงินได้พึงประเมิน 800,000 บาท
คูณอัตราภาษีร้อยละ 0.5 คิดเป็นภาษีที่ต้องเสียจำนวน 4,000 บาท
ดังนั้น ในปีภาษี 2552 นาย ก. ได้รับยกเว้นภาษีที่คำนวณได้ตามวิธีที่ 2 และไม่มีภาษีที่คำนวณได้ตามวิธีที่ 1 จึงไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ตัวอย่างที่ 2 ในปีภาษี 2552 นาย ข. เป็นผู้มีเงินได้จากการขายของ ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร จำนวนทั้งสิ้น 1,000,000 บาท
การคำนวณภาษีที่ต้องเสีย
วิธีที่ 1 เงินได้พึงประเมินหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่างๆ คูณด้วยอัตราภาษีเงินได้ หรือเรียกว่า อัตราก้าวหน้า ตามมาตรา 48(1) แห่งประมวลรัษฎากร
เงินได้พึงประเมิน 1,000,000 บาท
หัก ค่าใช้จ่ายเหมาในอัตราร้อยละ 80 800,000 บาท
หัก ลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้ 30,000 บาท
คงเหลือเงินได้สุทธิ 170,000 บาท
หัก เงินได้สุทธิ 150,000 บาทแรก (ได้รับยกเว้นภาษี) 150,000 บาท
คงเหลือเงินได้สุทธิที่ต้องคำนวณภาษี 20,000 บาท
มีภาษีต้องเสียจำนวน (ในอัตราร้อยละ 10) 2,000 บาท
วิธีที่ 2 เงินได้พึงประเมินคูณด้วยอัตราร้อยละ 0.5 หรือเรียกว่า พันละห้า ตามมาตรา 48(2) แห่งประมวลรัษฎากร
เงินได้พึงประเมิน 1,000,000 บาท
คูณอัตราภาษีร้อยละ 0.5 คิดเป็นภาษีที่ต้องเสียจำนวน 5,000 บาท
ดังนั้น ในปีภาษี 2552 นาย ข. ต้องเสียภาษีที่คำนวณได้ตามวิธีที่ 1 จำนวน 2,000 บาท
ตัวอย่างที่ 3 ในปีภาษี 2552 นาย ค. เป็นผู้มีเงินได้จากการขายของ ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร ในปีภาษี 2552 จำนวนทั้งสิ้น 1,100,000 บาท
การคำนวณภาษีที่ต้องเสีย
วิธีที่ 1 เงินได้พึงประเมินหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่างๆ คูณด้วยอัตราภาษีเงินได้ หรือเรียกว่า อัตราก้าวหน้า ตามมาตรา 48(1) แห่งประมวลรัษฎากร
เงินได้พึงประเมิน 1,100,000 บาท
หัก ค่าใช้จ่ายเหมาในอัตราร้อยละ 80 880,000 บาท
หัก ลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้ 30,000 บาท
คงเหลือเงินได้สุทธิ 190,000 บาท
หัก เงินได้สุทธิ 150,000 บาทแรก (ได้รับยกเว้นภาษี) 150,000 บาท
คงเหลือเงินได้สุทธิที่ต้องคำนวณภาษี 40,000 บาท
มีภาษีต้องเสียจำนวน (ในอัตราร้อยละ10) 4,000 บาท
วิธีที่ 2 เงินได้พึงประเมินคูณด้วยอัตราร้อยละ 0.5 หรือเรียกว่า พันละห้า ตามมาตรา 48(2) แห่งประมวลรัษฎากร
เงินได้พึงประเมิน 1,100,000 บาท
คูณอัตราภาษีร้อยละ 0.5 คิดเป็นภาษีที่ต้องเสียจำนวน 5,500 บาท
ในปีภาษี 2552 นาย ค. ต้องเสียภาษีที่คำนวณได้ตามวิธีที่ 2 จำนวน 5,500 บาท
8. การกรอกรายการในใบแนบ ภ.ง.ด.90 ภ.ง.ด.91 ปีภาษี 2552
กรณีคำนวณเงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานเฉพาะที่เลือกเสียภาษีโดยไม่นำไปรวมคำนวณภาษีกับเงินได้อื่นๆ
ในใบแนบดังกล่าวได้เพิ่ม ส่วน ง เงินได้ที่ได้รับยกเว้น ให้ผู้มีเงินได้ระบุเงินได้ที่ได้รับยกเว้น เพื่อเป็นฐานในการคำนวณการซื้อหน่วยลงทุน เช่น เงินได้ฯ ที่ข้าราชการได้รับตามโครงการเกษียณก่อนกำหนด
Hotmail: Free, trusted and rich email service. Get it now.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น