วันจันทร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2553

{MBAY12/2} FW: นอนตายในรถ

 

 


From: Pongthai[Eng FB] Jitrakthum
Sent: Monday, October 04, 2010 1:45 PM
To: Pranee Supkaewyod[MTN]; Nichapa Sangwaravijit[Power]; Pool FB ENG; Chaluch Munkong; Luck Tragolpattana; Nattawut[Eng FB] Sangthong; Surasak[Eng FB] Najai; Watcharin Chewpraditkul; Apisit Kittironnakorn[Eng SP]; Arch Tatsanathorn[Eng SP]; Jade Ittivetchai[Eng SP]; Kantapon Mathavichai[Mtn SP]; Pichashan Wetchakit[Eng SP]; Somjate Chinpraditsuk; Amnat; Amornpong Thongplew[Ref]; Aphiphoom Poncha[FTG]; Jakapan Sukhodsamit; Kanin; Nitipong Leksuphanroj[Cut CB]; Noom; Pai Petsungvarn; Phunpaween Narksangthong[Cut CB]; Pichai Junpipop[Eng CB]; Pitsanu; Sujit; Suksan Ruankaew; surapong; Thanawat Techasupinan[Eng CB]; Tharatorn Tantirak; Tossaporn Nakay[FTG]; Wichaya Deesootjit[Cut CB]; Wittawat[FTG] Iammaleerat
Subject: นอนตายในรถ

 

 


              หลายๆคนสงสัยว่า 
การนอนในรถ..ทำไมถึงเสียชีวิตได้ ?

จากข่าวการเสียชีวิตของบิดานางเอกสาวช่อง7 สี 'ขวัญ อุษามณี' ที่มีคนพบร่างไร้วิญญาณของพ่อของเธอ ติดเครื่องยนต์นอนในรถจากไปอย่างคาดไม่ถึง นี่เป็นเรื่องที่น่าเศร้าโศกเสียใจอย่างมาก และนี่ก็เป็นอุทาหรณ์อีกว่า 'การนอนในรถ' เป็นเรื่องที่หลายคนมักรู้เท่าไม่ถึงอันตรายและอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้

การจอดรถนอนนั้นเป็นเรื่องที่เราแนะนำให้คนจำนวนมากทำ โดยเฉพาะในหมู่นักเดินทางที่เหนื่อยล้าจากการขับรถทางไกลเป็นเวลานานๆ อาการดังกล่าวนั้น อาจส่งผลให้เกิดการหลับในและก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ ดังนั้นทางที่ดีที่สุดคือการจอดรถหลับพักผ่อนสักหน่อยก่อนจะเดินทางต่อไปยังจุดหมายปลายทาง

ดูผิวเผินการจอดรถนอน คงไม่ใช่เรื่องที่น่าจะมีอะไรซับซ้อน จนอาจเป็นอันตรายถึงขนาดทำให้เราสามารถเสียชีวิตคารถสุดที่รัก อย่างกรณีของคุณพ่อของนางเอกวิก 7 สี แต่ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่า หากเรานอนในรถโดยไม่เข้าใจอย่างถูกต้องแท้จริง นี่อาจเป็นการเดินทางครั้งสุดท้ายในชีวิตก็เป็นได้

อันตรายจากการจอดรถนอนหลับนั้นความจริงแล้ว ภัยใกล้ตัวที่สร้างความวิตกให้เรานั้นไม่ได้อยู่ที่พื้นที่ ลักษณะท่านอน หรืออากาศภายในห้องโดยสารที่เราผนึกกระจกทั้ง 4บาน เพราะกังวลเรื่องความปลอดภัยจากโจรที่อาจมาตอนไหนก็ไม่ทราบ

ความจริงแล้วอันตรายที่เกิดจากการนอนในรถนั้น เป็นปัจจัยที่เกิดจากภายใน และโดยมากเราจะพบว่าคนที่เสียชีวิตจากการนอนในรถส่วนใหญ่นั้น จะมีสาเหตุมาจากการสตาร์ทเครื่องยนต์แล้วเปิดระบบปรับอากาศทิ้งไว้แล้วนอนหลับจนไม่ฟื้น


                             

 

 สิ่งที่ผิดที่สุดของแนวคิดการนอนในรถนั้นไม่ใช่ระบบปรับอากาศแต่มันคือ 

 การสตาร์ทเครื่องยนต์ทิ้งเอาไว้ 
เพื่อให้ระบบปรับอากาศนั้นสร้างความเย็นสบายตลอดเวลา เช่นเดียวกับการเดินทางในยามขับขี่ ความคิดที่รักสบายนี่เอง ที่ทำให้หลายคนกลายเป็นร่างไร้วิญญาณอย่างไม่รู้ตัว เพราะ แม้เครื่องยนต์และระบบอากาศดูจะไม่เกี่ยวข้องกันเลย ทว่าความจริงมันเชื่อมโยงกันอยู่อย่างไม่น่าเชื่อ

โดยปกติแล้วระบบปรับอากาศภายในรถยนต์นั้น จะทำงานคล้ายๆกับระบบแอร์ทั่วๆไป คือ แลกเปลี่ยนอุณภูมิผ่านน้ำยาที่เป็นตัวนำ และนำไประบายความร้อนออกเพื่อกลับมาวนปรับอุณภูมิต่อไปแบบนี้เรื่อยๆ อันที่จริงการปรับอุณหภูมิโดยน้ำยาแอร์ที่ไหลเวียนในระบบไม่ได้เป็นอันตรายกับมนุษย์เลย หากแต่สิ่งที่ทำให้คนนอนในรถเสียชีวิตได้นั้น กลับมาจากการสูดดมไอเสียเข้าสู่ร่างกายโดยไม่รู้ตัว

แม้เราจะทราบกันดีอยู่แล้วว่าระบบปรับอากาศจำเป็นต้องทำงานในพื้นที่ปิด ซึ่งในรถยนต์นั้นมันก็หมายถึงห้องโดยสาร ทว่าถึงห้องโดยสารจะเป็นพื้นที่ปิดตามที่เราทราบ แต่พัดลมแอร์นั้นก็ยังต้องดูดอากาศบางส่วนจากภายนอกมาสู่ห้องโดยสาร

นี่เองที่เป็นสาเหตุหลักที่อาจทำให้คุณตายได้โดยไม่รู้ตัว เพราะเมื่อคุณติดเครื่องยนต์รถทิ้งไว้ไอเสียบางส่วนก็จะถูกพัดลมแอร์ดูดเข้ามาในห้องโดยสาร ซึ่งถ้าหากมันมาเป็นจำนวนมากคุณจะรู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงและตื่นขึ้นเหมือนสัญญาณเตือนของร่างกาย ซึ่งในรถยนต์บางรุ่นจะติดตั้งตัวดักไอเสียสู่ห้องโดยสาร เพื่อป้องกันคนนอนในรถเป้นเวลานานๆ แต่เมื่อเจ้าก๊าซพิษค่อยๆย่างกรายเข้ามาทีละนิด ในขณะที่กำลังฝันหวานก็ไม่ทางรู้สึกเลยว่าชะตากำลังจะถึงคาดในขณะพักผ่อน

คุณเคยรู้สึกปวดหัวเวลาขับรถไปเจอการจิดขัดติดเป็นชั่วโมงไหม หลายคนคงนึกว่าเรากำลังผจญภาวะความเครียด ซึ่งนั้นก็ถูกส่วนหนึ่ง แต่ความจริงแล้วในอีกด้านเรากำลังสูดดมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปโดยไม่รู้ตัว และจากข้อมูลของศูนย์ข้อมูลวัตถุอันตรายและเคมีภัณฑ์ ได้กล่าวถึง อันตรายของการสูดดมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ว่า อาจจะทำให้เกิดการระคายเคือง ปวดศีรษะ เซื่อมซึม เคลิบเคลิ้ม สั่นกระตุก หายใจติดขัด หมดสติไม่รู้สึกตัว หัวใจเต้นปิดปกติ เนื่องจาก มีฮีโมโกลบินน้อยกว่าปกติ มีผลกระทบต่อระบบประสาทส่วนกลางจนอาจถึงขั้นเสียชีวิต

มันจึงไม่ใช่เรื่องแปลกหากพบว่าการที่เราค่อยๆดมไอเสียทีละน้อยเป็นเวลากว่า 5-6 ชั่วโมง อาจส่งเราสู่สวรรค์ได้ โดยไม่รู้ตัว ซึ่งความจริงหากคุณมีความจำเป็นในการนอนในรถระหว่างเดินทาง 



                                

 

 มีวิธีที่ถูกต้องมาแนะนำกัน


1.หาที่เหมาะสม
 เมื่อเริ่มรู้สึกง่วงพยายามหาที่เหมาะสมในการจอดรถ เราแนะนำให้จอดในสถานีบริการ ถ้าเป็นไปได้ หรือถ้าไม่มีก็พยายามหาจุดที่เป็นชุมชน ป้อมตำรวจทางหลวง หรือ ไม่ก็มีแสงไฟสลัวๆดีกว่า เพื่อป้องกันโจรไปด้วยในตัว

2.ดับเครื่องยนต์
 เมื่อจอดแล้วดับเครื่องยนต์ทันทีแม้อาจจะเริ่มรู้สึกอึดอัดบ้าง หากคิดว่าไม่สบายตัวก็แง้มกระจกลงสักนิด 2-3 เพื่อระบายอากาศและรับลมจากภายนอก

3.ปรับเบาะเอนเบาะนอนให้เหมาะสม
 การนอนในรถไม่ใช่การที่คุณเอนนอนทั้งหมด เพราะ แต่ละคนมีท่านอนที่ชอบไม่เหมือนกัน ให้คุณปรับเอนนอนให้พอดีเพียงพอ เพราะการเอนนอนมากไปจะทำให้คุณเมื่อล้าได้ภายหลัง

4.ใช้พัดลมแอร์ช่วยให้หลับ
 เมื่อพร้อมจะหลับก็ให้บิดกุญแจไปที่จังหวะออนเพื่อให้ระบบไฟฟ้าทำงาน แล้วจึงบิดเปิดสวิทช์แอร์ เมื่อเปิดแล้วให้หาปุ่มที่เขียนว่า A/C หรืออาจะเป็นรูปรถที่มีลูกศรชี้เข้ามาในตัวรถจากภายนอกใ ห้เลือกกดปุ่มดังกล่าว ซึ่งพัดลมแอร์จะดูดอากาศมาหมุนเวียนในห้องโดยสารแม้จะไม่เย็นเหมือนแอร์แต่ก็พอให้คุณเคลิ้มหลับได้สบาย

นี่เป็นวิธีการนอนในรถที่ถูกต้องและเราไม่แนะนำให้ใช้รถเป็นโรงแรมคลื่อนที่ เนื่องจากแม้จะนอนได้แบบพอทน แต่มันก็ไม่ดีต่อสุขภาพกระดูกสันหลัง เช่นเดียวกับความไม่ปลอดภัยในชีวิต


   

  
 บทความข้างต้น ตำรวจสาวว่า น่าจะพอมีประโยชน์ต่อเพื่อนๆบ้าง ไม่มากก็น้อย  หากจำเป็นควรนอนพอให้หายอ่อนเพลียประมาณ 30-40 นาที เมื่อพร้อมแล้วจึงเดินทางต่อให้ถึงจุดหมายปลายทางค่ะ..


--

--------------------------------------------------------------------------------
DISCLAIMER
--------------------------------------------------------------------------------
This e-mail and any attachment may contain confidential or legally privileged 
information for use of Toyota Motor Thailand Co., Ltd (TMT) only. If you are not the intended recipient, you are not 
authorized to copy or disclose all or any part of it without the prior written 
consent of the company.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น